ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์แฟ้มผลงานอิเล็กทรอนิกส์ (E-Portfolio) ของครูสุพรรณวดี ประสงค์

ส่วนที่ 1   

ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

1.  ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

๑.๑ ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน ๑๙.๑๖  ชั่วโมง/สัปดาห์ดังนี้

          กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

    รายวิชาสะเต็ม ๖ ว๒๓๒๐๒           ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ จำนวน ๑.๖๗ ชั่วโมง/สัปดาห์

           รายวิชาเคมี ๔ ว๓๒๒๒๔              ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ จำนวน ๕.๐๐ ชั่วโมง/สัปดาห์

           รายวิชาสะเต็มศึกษา ๖ ว๒๓๒๐๒   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ จำนวน ๕.๐๐ ชั่วโมง/สัปดาห์

          กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

           รายวิชาหน้าที่พลเมือง ส๒๒๒๖๔   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒/๔ จำนวน  ๐.๘๓ ชั่วโมง/สัปดาห์

          กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ก๒๒๙๐๗  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ จำนวน ๐.๘๓ ชั่วโมง/สัปดาห์

          กิจกรรมชุมนุม ก๒๒๙๐๓ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๖ จำนวน ๐.๘๓ ชั่วโมง/สัปดาห์

          กิจกรรมประชุมระดับ  ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน ๐.๘๓ ชั่วโมง/สัปดาห์                 

๑.๒ งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน  ๑๓.๘๘ ชั่วโมง/สัปดาห์

๑.๒.๑ การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้           ๑.๐๐ ชั่วโมง/สัปดาห์

๑.๒.๒ การจัดทำงานวิจัยในชั้นเรียน               ๑.๐๐ ชั่วโมง/สัปดาห์

๑.๒.๓ งานพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยี   ๐.๕๐ ชั่วโมง/สัปดาห์

๑.๒.๔ งานสร้างและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน       ๑.๐๐ ชั่วโมง/สัปดาห์

           ๑.๒.๕ ตรวจภาระงาน/ชิ้นงาน การบ้านนักเรียน   ๕.๐๐ ชั่วโมง/สัปดาห์

           ๑.๒๖ งานที่ปรึกษา งานดูแลนักเรียนและโฮมรูม   ๕.๐๐ ชั่วโมง/สัปดาห์

           ๑.๒๖ งานเยี่ยมบ้านนักเรียน งานติดตามนักเรียน      ๐.๓๘ ชั่วโมง/สัปดาห์

๑.๓ งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน ๑๑.๑๒ ชั่วโมง/สัปดาห์

           ๑.๓.๑ หัวหน้างานทะเบียน                                              ๘.๐๐ ชั่วโมง/สัปดาห์

๑.๓.๒ คณะทำงานในการปฏิบัติงานตามโครงสร้างการบริหาร ๖ ฝ่าย ๓.๐๐ ชั่วโมง/สัปดาห์

๑.๓.๓ งานโครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา               ๐.๑๒ ชั่วโมง/สัปดาห์

๑.๔ งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน ๒.๙๘ ชั่วโมง/สัปดาห์

๑.๔.๑ งานโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.                            ๑.๐๐ ชั่วโมง/สัปดาห์

          ๑.๔.๒ งานโรงเรียนสุจริต                                         ๐.๘๓ ชั่วโมง/สัปดาห์

๑.๔.๓ งานโครงการส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community : SLC) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่        ๑.๑๕ ชั่วโมง/สัปดาห์


2 งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู

ด้านที่ 1
ด้านการจัดการเรียนรู้

ด้านที่ 2
ด้านส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้

ด้านที่ 3
ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย

ในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

ชื่อประเด็นท้าย การพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รายวิชาสะเต็มศึกษา ๖ ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบร่วมกับการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

  ๑. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

จากการศึกษาเป้าหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑ สำหรับ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย นั้นพบว่า หลักสูตรมีเป้าหมายให้ นักเรียนเข้าใจหลักการ กฎ ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ มีทักษะสำคัญในการศึกษาค้นคว้า คิดค้นทางเทคโนโลยี เพื่อนำความรู้ ความเข้าใจ ในวิชาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและการดำรงชีวิตได้ แต่จากการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา พบว่า ผู้เรียนส่วนใหญ่เป็นนักเรียนห้องเรียนพิเศษ จะมีความสนใจในวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ แต่จะมีปัญหาในด้านของ Soft Skill หรือ ทักษะด้านสังคม เช่น การทำงานร่วมกันกับผู้อื่น หรือ ทักษะการสื่อสาร เป็นต้น โดยครูได้ข้อมูลจากการให้นักเรียนสะท้อนด้วยการบันทึกอนุทิน (Reflective Journal) ในท้ายคาบของการเรียน การสอน โดยมักพบว่า ในการทำงานร่วมกันของนักเรียนจะมีสมาชิกบางคนไม่มาร่วมทำงานด้วย หรือ ความคิดเห็นในกลุ่มไม่ตรงกัน มีเวลาทำงานที่ไม่ตรงกัน หรือบางกลุ่มมีการไลน์ส่วนตัวมาหาครูเพื่อขอเปลี่ยนกลุ่ม ประมาณ ๑๐-๒๐ เปอร์เซ็นต์ของนักเรียนทั้งห้อง ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในทุกปีของการจัดการเรียนรู้  ในรายวิชาสะเต็มศึกษา ๕-๖ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓/๔ ระหว่างปีการศึกษา ๒๕๖๔-๒๕๖๖ โดยพบว่าการทำงานของผู้เรียนร่วมกันค่อนข้างมีอุปสรรคและปัญหา ทำให้การระดมความคิดเพื่อแก้ปัญหาทางสะเต็มจึงทำได้ยาก นักเรียนส่วนใหญ่รู้สึกโดดเดี่ยว กลัวความผิดพลาดในการคิดและหาคำตอบด้วยตนเองเพียงผู้เดียว อีกทั้ง จากการเข้าร่วมการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพร่วมกับครูในกลุ่ม PLC ในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ในการพัฒนาผู้เรียนเพื่อพัฒนาโครงงานด้านสะเต็ม พบว่า การคิดเพื่อค้นหาวิธีการแก้ปัญหายังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เพราะผู้เรียนจะใช้ความคิดและความรู้เดิมของตนเองที่มี มาแก้ปัญหาที่พบเจอแต่ขาดการเชื่อมโยงความรู้ใหม่และปัญหาส่วนใหญ่ ไม่ใช่ปัญหาเชิงวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ทำให้การคิดโครงงานสะเต็มของนักเรียนจะหลุดออกจากแนวคิดหลักสำคัญ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่นักเรียนจะต้องร่วมกันคิดแก้ปัญหาเป็นทีมในการร่วมกันระดมความคิด และฝึกการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นเพื่อให้งานประสบความสำเร็จตลอดจนผลสัมฤทธิ์ ทักษะกระบวนการในการทำงาน เจตคติในการทำงานร่วมกับผู้อื่น และความรับผิดชอบ จะเกิดขึ้นกับผู้เรียนให้เป็นไปตามเป้าหมาย ของชีวิตที่ผาสุก สู่ ความกินดีอยู่ดี (Well-being) ตามเป้าหมายของโลกนั่นเอง


๒. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

๒.๑ วิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา ๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งพัฒนาขึ้นตามตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐)  ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

        ๒.๒ ศึกษา สังเคราะห์เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือตามกรอบ PISA ร่วมกับการเรียนรู้แบบการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)

         ๒.๓ จัดทำโครงสร้างของหน่วยการเรียนรู้ เลือกเนื้อหาในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ที่สามารถบูรณาการกับการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา ด้วยการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) มาคิดค้น ออกแบบ และจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือตามกรอบ PISA

         ๒.๔ ให้คุณครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เป็นเพื่อนคู่คิด (Buddy Teacher) ในทีม STEM PLC ช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องในการออกแบบกิจกรรม เนื้อหา สาระการเรียนรู้ และความเหมาะสมของการใช้ภาษา การเฉลยของตัวอย่าง กิจกรรม แบบฝึกหัด ตลอดจนความสอดคล้องของการวัดประเมินผลของผู้เรียน พร้อมทั้งเสนอแนะ เพื่อปรับปรุง แก้ไข

      ๒.๕ ครูผู้สอนปรับปรุงหน่วยการเรียนรู้ และแผนการจัดการเรียนรู้ แก้ไขตามคำแนะนำของครูที่เป็นเพื่อนคู่คิด จากนั้นนำไปใช้ปฏิบัติการสอนจริงในชั้นเรียน โดยมีเพื่อนคู่คิดเข้าสังเกตการณ์ปฏิบัติการสอนตามตารางกำหนดการทีม PLC ที่กำหนดไว้

         ๒.๖ วิเคราะห์สมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ ตลอดจนผลสัมฤทธิ์ ทักษะสำคัญ และเจตคติต่อสะเต็มของนักเรียน

๒.๗ สะท้อนผลการจัดกิจกรรมโดยครูผู้สอน และครูเพื่อนคู่คิด จากนั้นปรับปรุงพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ และหน่วยการเรียนรู้ เกิดเป็นนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ ในการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาต่อไป


๓. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

๓.๑ เชิงปริมาณ

๑. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓/๔ ที่เรียนรายวิชาสะเต็มศึกษา ๖ จำนวน ๒๙ คน ได้รับการพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ โดยนักเรียนร้อยละ ๘๐ มีสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ ในระดับดี ขึ้นไป

๒. ผู้เรียน ร้อยละ ๙๐ สามารถร่วมกันพัฒนาโครงงานสะเต็มศึกษาของตนเองได้เป็นไปตามศักยภาพของแต่ละกลุ่มตามที่วางแผนไว้


๓.๒ เชิงคุณภาพ

             ๑. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓/๔ ที่เรียนรายวิชาสะเต็มศึกษา ๖ จำนวน ๒๙ คน มีสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือในระดับดีขึ้นไป

             ๒. โครงงานสะเต็มของผู้เรียนมีคุณภาพ ในระดับ ๓ ขึ้นไป


. ผลงานที่เกิดกับตนเอง

        ๔.๑ ได้เรียนรู้การจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ จากการเข้าร่วมโครงการการพัฒนานักเรียนห้องเรียนพิเศษ ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนำมาพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนในรายวิชาสะเต็มศึกษา ๖

           ๔.๒ ได้เรียนรู้ศาสตร์การสอนวิทยาศาสตร์ การพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาครู การทำวิจัยระดับสูง จากการศึกษาต่อในระดับปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน (นอกเวลาราชการ)

           ๔.๓ ได้เรียนรู้แนวทางการส่งเสริมการรับรู้ในความสามารถของตนเองให้กับนักเรียนในการเรียนวิทยาศาสตร์ในรูปแบบออนไลน์ซึ่งเกี่ยวข้องกับความมั่นใจว่าตนเองจะสามารถเรียนออนไลน์ได้สำเร็จ ซึ่งจากกงานวิจัยของไทยและต่างชาติพบว่า การรับรู้ในความสามารถของตนเองเป็นดัชนีก้าวสู่ความสำเร็จในการปฏิบัติงานนั้น ๆ ซึ่งนักเรียนส่วนมากไม่มีความเชื่อมั่นว่าตนเองจะเรียนออนไลน์ได้สำเร็จ การรับรู้ในความสามารถของตนเองจึงเป็นสิ่งที่ควรพัฒนาให้กับนักเรียน

       ๔.๔ มีความรู้ด้านการวิจัยในชั้นเรียนและได้จำทำวิจัยในชั้นเรียน จนเกิดผลการปฏิบัติงานเชิงประจักษณ์เกิดผลงานวิจัยและได้รับรางวัลการนำเสนอผลงานวิจัยระดับนานาชาติ ตลอดจนผลการพัฒนาผู้เรียนเป็นที่ประจักษ์ ได้แก่

       ๑) รางวัลผลงานวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Best Practice For Active Learning) ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๕ กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ยกย่องเชิดชูเกียรติการบริหารจัดการศึกษาและการจัดการเรียนรู้่เชิงรุก (Active Learning) สู่การพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑ ชนะเลิศ ประเภท ครูผู้สอน ระดับ ดีเยี่ยมณ วันที่ ๔ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๕

              ๒) รางวัล An Excellent award for oral presentation At The 10th International Conference for Science Educators and Teachers (ISET2023) "Science Education 2030 - Need for New Solutions in A Rapidly Changing World: Rethinking our Future together" 13-14 May 2023 ในการนำเสนองานวิจัย เรื่อง STEM Teachers in Professional Learning communities for enhancing students' Cooperative problem-solving competencies.

              ๓) ได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาเพื่อรับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ "คุรุสดุดี" ประจำปี ๒๕๖๖ จากคุรุสภา

          ๔) ครูผู้สอนนักเรียน ได้รับรางวัลระดับเหรียญทอง รองชนะเลิศอันดับที่ ๑ กิจกรรม การแข่งขันหุ่นยนต์ระดับกลาง ระดับชั้น ม.๔ - ม.๖ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ ๗๐ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๕

              ๕) ครูผู้สอนนักเรียน ได้รับรางวัลระดับเหรียญทอง รองชนะเลิศอันดับที่ ๑ กิจกรรม การประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ ระดับชั้น ม.๑-ม.๓ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ ๗๐ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๕

              ๖) ครูผู้สอนนักเรียน ได้รับรางวัลระดับเหรียญทอง รองชนะเลิศอันดับที่ ๒ กิจกรรม การแข่งขันเครื่องบินพลังยาง ประเภทบินนาน ปล่อยอิสระ ระดับชั้น ม.๑-ม.๓ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ ๗๐ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๕

              ๗) ครูผู้สอนนักเรียน ได้รับรางวัลระดับเหรียญเงิน กิจกรรม การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ประเภทสิ่งประดิษฐ์ ระดับชั้น ม.๑-ม.๓ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ ๗๐ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๕



. ผลงานที่เกิดกับนักเรียน

         ๕.๑ นักเรียนในกลุ่มที่ศึกษามีสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ ร้อยละ ๘๒.๗๕ ขึ้นไป ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และมีระดับสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ อยู่ในระดับดี

        ๕.๒ นักเรียนมีการรับรู้ในความสามารถของตนเองในการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ในรูปแบบออนไลน์สูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้นักเรียนมีผลการเรียนในรูปแบบออนไลน์สูงขึ้นกว่าในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๔ ซึ่งเป็นการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์เช่นเดียวกัน

     ๕.๓ นักเรียน ได้รับรางวัลระดับเหรียญทอง รองชนะเลิศอันดับที่ ๑ กิจกรรม การแข่งขันหุ่นยนต์ระดับกลาง ระดับชั้น ม.๔ - ม.๖ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ ๗๐ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๕

     ๕.๔ นักเรียน ได้รับรางวัลระดับเหรียญทอง รองชนะเลิศอันดับที่ ๑ กิจกรรม การประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ ระดับชั้น ม.๑-ม.๓ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ ๗๐ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๕

     ๕.๕ นักเรียน ได้รับรางวัลระดับเหรียญทอง รองชนะเลิศอันดับที่ ๒ กิจกรรม การแข่งขันเครื่องบินพลังยาง ประเภทบินนาน ปล่อยอิสระ ระดับชั้น ม.๑-ม.๓ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ ๗๐ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๕

     ๕.๖ นักเรียน ได้รับรางวัลระดับเหรียญเงิน กิจกรรม การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ประเภทสิ่งประดิษฐ์ ระดับชั้น ม.๑-ม.๓ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ ๗๐ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๕


การจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนสะเต็ม

ปัญหา 

นักเรียนขาดสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือเมื่อต้องร่วมกันพัฒนาโครงงานสะเต็มในชั้นเรียน

การจัดการเรียนในห้องเรียนรู้สะเต็มศึกษาด้วยการสอนแบบสืบเสาะร่วมกับการคิดเชิงออกแบบ

แก้ปัญหาโดย  

ครูปรับการเรียน เปลี่ยนการสอน ใช้กระบวนการสำรวจตรวจสอบชั้นเรียนร่วมกับครูในโรงเรียนสร้างทีม PLC เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือในการสร้างและพัฒนาโครงงานสะเต็มของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

เอกสารหลักฐาน และ วิดีทัศน์การจัดการเรียนรู้

การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ห้อง 4 หน่วยการเรียนรู้ที่ 7
เรื่องการเขียนรายงานโครงงาน

วิดีโอบรรยากาศในชั้นเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ห้อง 4 หน่วยการเรียนรู้ที่ 7
เรื่องการนำเสนอโครงงานสะเต็ม

สถิติผู้เข้าเยี่ยมชม